วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ข่าว(แก้ไข)

วิเคราะห์ข่าว


เรื่อง  แฮกเกอร์เจาะทวิตเตอร์ “นายกฯปู-ยิ่งลักษณ์”
ที่มา http://www.thairath.co.th/today/view/207112

      จากข่าวเบื้องต้นตำรวจได้ติดตามและจับนายเอกวิทย์ ทองดีวรกุล ผู้ต้องหาที่ทำการแฮกทวิตเตอร์ของนายกยิ่งลักษณ์ โดยตำรวจได้เชิญผู้ต้องหามาสอบสวนจนยอมรับสารภาพ เบื้องต้นมีโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 7 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า กระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และผู้ต้องหามีความสำนึกผิดแล้ว การกระทำครั้งนี้เป็นการกระทำเพียงคนเดียว ด้วยการเป็นผู้โพสต์ข้อความทั้งหมดในทวิตเตอร์ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการสอบสวนสืบสวนต่อไปว่าจะมีผู้เกี่ยวข้องอื่นอีก หรือไม่ อย่างไรก็ตามหากผู้กระทำความผิดสำนึกผิดแล้วและพ้นโทษ อาจให้มาทำงานอาสาสมัครในการช่วยปราบปรามเว็บไซต์ไม่เหมาะสม เว็บไซต์หมิ่นสถาบัน

       จากบทความเบื้องต้น ผู้กระทำผิดนั้นได้ทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการ แต่ในทางจริยธรรมก็ไม่สมควรที่จะทำในสิ่งดังกล่าว เพราะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ในทวิสเตอร์ของท่านนายกอาจมีข้อมูลส่วนตัวของท่านซึ่งเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล
        
         เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ใช้จิตสำนึกในการคิดก่อนที่จะลงมือทำในสิ่ง ต่างๆ เพื่อจะได้ไม่เป็นการเพิ่มเหตุการณ์ที่ไม่ดีต่างๆในสังคมของประเทศชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยวช่วงปีใหม่

ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีปีใหม่ทุกคนนะครับผม ในช่วงปีใหม่ผมได้ไปเที่ยวที่สถานที่ที่หนึ่งที่ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน สถานที่ๆนี้ผมมีความรู้สึกว่าไปกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ ซ้ำยังทำให้ผมรู้สึกรักสถานที่แห่งนี้มากขึ้นทุกครั้ง สถานที่แห่งนั้นก็คือ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ครับ เรามาทำความรู้จักกับสถานที่แห่งนี้กันดีกว่า 
ไปกันเลย....

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

ประวัติ
    อาคารบริเวณถนนราชดำเนินกลาง เป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่มีพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ให้ตัดถนนราชดำเนินจากพระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง โดยจัดวางรูปแบบตามลักษณะของ Champs Elysees ในประเทศฝรั่งเศส

การก่อสร้างถนนราชดำเนินเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442 ส่วนอาคารตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2480 โดยการเวนคืนที่ดินทั้งสองฝั่งถนนข้างละ 40 เมตร และออกแบบโดยสถาปนิกหลายท่าน ได้แก่ มล.ปุ่ม มาลากุล, คุณหมิว อภัยวงศ์ ซึ่งใช้แนวความคิดในการออกแบบจาก Champ Elysees ตามพระราชดำริเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งานก่อสร้างอาคารบนถนนราชดำเนินกลาง ใช้เวลาระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึง 2491 มีอาคารจำนวน 15 หลัง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 10 ล้านบาท โดยจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง อาทิเช่น บริษัท สง่าวรรณดิศ จำกัด, บริษัทคริสเตียนีแอนด์เนลสัน จำกัด และในขณะเดียวกันได้ก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2482 ด้วย
    
     สถาปัตยกรรมในช่วง พ.ศ. 2475 – 2489 เป็นช่วงการออกแบบที่ยึดแนวสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคตะวันออก ซึ่งต้องมีรูปแบบและสัดส่วนของอาคารที่ถูกต้องทุกส่วน โดยเฉพาะในเรื่องของแกน (Axis) ของอาคารทั้งแนวตั้งและแนวราบ (มองจากผังอาคาร) เพื่อให้เกิดความสมดุล อีกทั้งการจัดวางผังบริเวณที่วางอาคารขนานตามแนวถนนให้รูปอาคารสอดคล้องกัน ตลอดแนวและวางตัวอาคารให้สัมพันธ์กับทิศทางแดด – ลม เพื่อให้สามารถรับลมธรรมชาติได้ดี

ตามที่กล่าวมาอาคารบนถนนราชดำเนินกลาง ผู้ออกแบบได้ยึดหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมตามยุคสมัยนั้น โดยรูปทรงอาคารเป็นอาคารแบบผสมสถาปัตยกรรมตะวันตก ใช้รูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน คือ สี่เหลี่ยมและวงกลมประกอบกันอย่างกลมกลืน วางอาคารด้านยาวขนานตามแนวถนน สมมาตรกันตลอดแนวถนนราชดำเนินกลาง

รูปลักษณ์ภายนอกอาคารออกแบบให้แกนสมดุลย์อยู่กึ่งกลางอาคาร โดยกำหนดให้มีทางเข้าหลักตรงกลาง มีแนวครีบคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ทางตั้งระหว่างหน้าต่างและกันสาด ยื่นออกจากแนวผนังเพื่อเน้นทางเข้า ซึ่งในบริเวณหน้าต่างส่วนอื่น ๆ มีเพียงกันสาด คสล. ด้านบน และปูนปั้นขอบล่างหน้าต่าง เพื่อให้รับกับครีบ คสล. ที่ออกแบบไว้

ในส่วนผิวผนังภายนอกอาคารเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนทำผิวไม่เรียบ (Texture)และเซาะร่องเลียนแบบการเรียงหิน ซึ่งเป็นการเน้นแนวขอบครีบ คสล.และขอบปูนปั้นกรอบหน้าต่างให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

หลังคาดาดฟ้าของอาคารในส่วนโค้งปลายอาคารทั้งสองด้านเป็นพื้น คสล.ส่วนกลางอาคารระหว่างโค้งเป็นหลังคาจั่วโครงไม้มุงกระเบื้อง ยกขอบสูงเพื่อบังหลังคากระเบื้อง และทำเป็นกันสาด รูปทรงอาคารดังกล่าวเป็นลักษณะพื้นฐานของอาคารตลอดแนวถนนราชดำเนินกลาง ยกเว้นอาคารในพื้นที่มุมถนนบริเวณสี่แยกคอกวัว (4อาคาร ปัจจุบันเหลือเพียงอาคารกรมเจรจาการค้าฯ ,อาคารกองสลาก 2และอาคารธนาคารออมสิน)อาคารรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย(4อาคาร ได้แก่ ร้านอาหารเมธาวลัยศรแดง ร้านหนังสือริมขอบฟ้า ,ร้านแมคโดนัล และ ร้านอาหารวิจิตร),อาคารปลายถนนราชดำเนินกลางบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ (ศาลาเฉลิมไทย ซึ่งรื้อไปแล้ว และอาคารเทเวศประกันภัย) และอาคารโรงแรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งออกแบบให้มีองค์ประกอบ เช่น ครีบ ขอบปูนปั้น ผิวผนังภายนอกรูปทรงสี่เหลี่ยมและวงกลมคล้ายกัน อาจต่างกันที่อาคารและความสูงอาคารบางส่วนโดยเฉพาะอาคารเทเวศประกันภัย มีความสูงของอาคาร 5ชั้น และมีโดมกลางอาคารที่เป็นโค้งโถงบันได ซึ่งอาคารอื่น ๆ มีความสูงเพียง 3 ชั้นและไม่มีโดมตรงกลาง

      ปัจจุบันหลังจากหมดสัญญาเช่าแล้วสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงดำริที่จะพัฒนาอาคารบริเวณถนนราชดำเนินกลาง โดยเริ่มที่อาคารซึ่งต่อจาก ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ (พื้นที่ศาลาเฉลิมไทยเดิม)ซึ่งที่ตั้งอาคาร นั้นเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเข้าสู่เขตพระราชธานีเมื่อครั้งในอดีต เปรียบได้กับเป็น ประตูสู่กรุงรัตนโกสินทร์ จึงกำหนดให้มีการจัดสร้างตกแต่งบูรณะอาคารเดิม ให้เป็น อาคาร
นิทร รศน์รัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ข้อมูล และแหล่งรวบรวมความรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม ของยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่บนถนนราชดำเนินอีกด้วย
โดย ได้เริ่มโครงการก่อสร้าง บูรณะอาคาร และตกแต่งนิทรรศการภายใน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และจะเปิดให้สาธารณะชนได้เข้าชมเพื่อร่วมภาคภูมิใจไปกับ ศิลปวิทยาการ มรดกของแผ่นดินที่สืบทอดมายาวนาน และอารยธรรมของประเทศในยุคที่เรียกว่า รัตนโกสินทร์นี้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป  อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เป็นอาคาร 3 ชั้น ไม่รวมชั้นลอย และที่ปลายของ
อาคารทั้งสองด้าน มีชั้น 4 สำหรับเป็นจุดชมวิวในมุมสูง ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 2,500 ตรม. พื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร รวมทั้งสิ้น 8,000 ตรม. ภายในอาคาร จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับรัตนโกสินทร์ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ทั้งสื่อจัด
แสดง หุ่นจำลอง การนำสื่อผสมเสมือนจริง 4 มิติ สื่อมัลติทัช มัลติมีเดียแอนิเมชัน ในลักษณะอินเตอร์เอคทีฟ เซล์ฟ เลิร์นนิ่ง (Interactive Self-learning) โดยแบ่งการจัดแสดงนิทรรศการออกเป็น 9 ห้องจัดแสดง (โดยระยะแรก จะเปิดให้ชมเพียง 7 ห้อง และจะเปิดให้ชมครบทั้ง 9 ห้อง ในปี พ.ศ. 2554) นอกจากนิทรรศการแล้ว ยังมีพื้นที่สำหรับนิทรรศการหมุนเวียน (Event Hall) ที่บริเวณโถงชั้น 1 พื้นที่ประมาณ 300 ตรม.เพื่อสำหรับให้บริการแก่สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชน ในการใช้จัดกิจกรรม หรือนิทรรศการทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนบริการห้องสมุด ร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึก อาหารเครื่องดื่ม

การเดินทาง

การนำไปบูรณาการกับการสอน

ในด้านความรู้
    เป็นสถานที่ๆให้ความรู้เกี่ยวกับกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยเราตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงสมัยปัจจุบัน

ในด้านเจนคติ
    เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศทั้งยังทำให้รู้สึกรักประเทศไทย และมีความภูมิใจในความเป็นคนไทยมากขึ้น

ในด้านกระบวนการต่างๆ
   1. เป็นสถานที่ๆสามรถหาความรู้เพิ่มเติมจากในห้องเรียนได้
   2. สามารถแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ชมคนอื่นๆได้